IEEE ย่อมาจาก Institute of Electrical and Electronics Engineers เป็นองค์กรวิชาชีพวิศวกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐาน สำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และยังได้กำหนดมาตรฐาน IEEE สำหรับ LAN ซึ่งมาตรฐานนี้จะอธิบายถึง LAN แบบ CSMA/CS, Token Bus และ Token Ring ซึ่งเป็น LAN ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย และยังได้รับการยอมรับจากองค์กรควบคุมมาตรฐาน ได้แก่ ANSI และ ISO
มาตรฐาน IEEE 802 ถูกแบ่งเป็นหลายส่วน ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้
IEEE 802.1 อธิบายถึงเนื้อหาโดยทั่วไปของมาตรฐานภายใน IEEE 802 ตลอดจนการเชื่อมโยงในแต่ละระดับชั้น จึงมักไม่ค่อยกล่าวถึง
IEEE 802.2 อธิบายถึงส่วนระดับชั้นบนของ Data Link Layer ซึ่งใช้โพรโตคอล LLC (Logical Link Control) ในการควบคุมการส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง
IEEE 802.3 เริ่มต้นมาจากบริษัท Xerox ได้สร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ 100 สถานีภายใน โดยมีความยาวของเครือข่ายถึง 1 กิโลเมตร และอัตราส่งข่อมูลได้ถึง 2.94 Mbps ระบบนี้เรียกว่า Ethernet ต่อมา บริษัท Xerox , Dec, และ Intel ได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐาน Ethernet ซึ่งมีอัตราส่ง 10 Mbps ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นพื้นฐานของ IEEE 802.3
IEEE 802.4 หรือ โทเค็นบัส มี Topology แบบ Bus มีข้อกำหนดการใช้สายสื่อสารโดยใช้ Token ทำหน้าที่เป็นเฟรมสัญญาณกำหนดจังหวะให้สถานีเข้าใช้สื่อสาร Token จะถูกนำส่งจากสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่งและวนกลับที่เดิมเป็นวงรอบ
IEEE 802.5 หรือโทเค็นริง หรือมักเรียกว่า IBM Token Ring เป็นเครือข่ายที่ใช้ Ring Topology ด้วยสาย Twisted pair หรือ fiber optied อัตราการส่งข้อมูลของ Token Ring ที่ใช้โดยทั่วไปคือ 4 และ 6 Mbps
IEEE 802.6 เป็นโปรโตคอลมาตรฐานสำหรับ Distributed Queue Dual Bus (DQDB) เพื่อใช้ในการสื่อสารของ LAN และ MAN
IEEE 802.7 เป็น Broadband Technical Advisory Group (B.B.TAG) ที่ยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานขึ้นมาแต่จะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนา บรอดแบนด์ของ IEEE 802
IEEE 802.8 เป็น Fiber Optic Technical Advisory Group มีอิทธิพลต่อการส่งข้อมูลแบบเส้นใยนำแสง IEEE 802 กลุ่มอื่น
IEEE 802.9 ใช้ในการกำหนดการรวมเสียงและข้อมูลบนระบบเครือข่ายรองรับ
IEEE 802.10 กำหนดความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย
IEEE 802.11 เป็นมาตรฐานของระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย WLAN คุณลักษณะเฉพาะของ IEEE 802.11 กำหนดระบบเครือข่ายไร้สายที่เทียบเคียงได้กับระบบเครือข่ายอีเธอร์เน็ต ที่ LANs เหล่านี้อาศัยเทคนิคที่มีความสัมพันธ์กับ CSMA/CD สำหรับการ access เข้าไปยังระบบเครือข่าย
IEEE 802.12 ใช้สาย Twisted-pair แบบ 8 เส้น (4 คู่สาย) ระบบการรับส่งข้อมูลใน LAN จะเปลี่ยนจาก CSMA/CD ไปเป็นแบบที่เรียกว่า Demand priority โดยทุกเครื่องในระบบจะต้องต่อเข้ากับ Hub และ Hub จะเป็นตัวจัด priority ว่าเครื่องใดจะได้ส่งข้อมูลผ่าน Hub ออกไปยัง Hub ตัวอื่น โดยพิจาณาลักษณะงานที่เป็น real-time
IEEE 802.14 กำหนดมาตรฐานสาย modem
IEEE 802.15 การรับส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายระยะใกล้ ซึ่งเรียกว่า WPAN ( Wireless Personal Area Network) หรือเทคโนโลยี Bluetooth
IEEE 802.16 เป็นเทคโนโลยีไร้สาย WiMAX เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่มีความสามารถสูงกว่า Wi-Fi ทั้งความเร็วและระยะทาง
Credit
น.ส.จุฑารัตน์
http://science.bu.ac.th/board/index.php?topic=1063.0
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น