วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

จั้มเปอร์(Jumper)

เชื่อหรือไม่?เพิ่ม ศักยภาพให้คอมพ์ได้ง่ายๆ ผ่าน JumperDip Switch สะพานไฟแห่งชีวิตคอมพ์ของคุณ สิ่งที่หลายคนกลัวนักหนากำลังจะถูกเปิดเผย ความจริง...
=700) window.open('http://isanthai.com/html/jumper_html_ba100c3.jpg');" onload="if(this.offsetWidth>'700')this.width='700';if(this.offsetHeight>'700')this.height='700';" border="0">














วันเวลาผ่านไปเทคโนโลยีก้าว หน้าไปเรื่อยๆทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคอมพิวเตอร์มีบทบาทในชีวิตประจำวัน ของเราเป็นอย่างมากหลายคนเลือกที่ซื้ออุปกรณ์ คอมพิวเตอร์มาประกอบเองหรือให้ทางร้านประกอบให้ แทนที่จะซื้อจากบริษัทขายคอมพิวเตอร์ Brandnameปัญหาที่ตามมาคือเราจะประกอบอุปกรณ์แต่ละชิ้น เข้าไปได้อย่างไร?หรือ ในกรณีที่ร้านค้าประกอบให้เราเคยคิดบ้างไหมว่าร้านค้านั้นประกอบให้เราถูก ต้องหรือเปล่า ?ประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ให้เราแล้วสามารถดึงประสิทธิภาพออกมาเต็มที่หรือเปล่า ?บ่อยครั้งที่ผมเองก็พบว่าช่าง ที่ร้านติดตั้งตัวJumperบนเมนบอร์ดผิดสับ DipSwitch ผิดอันจะเกิดจากช่างไม่มีประสบการณ์ หรือหลงลืมไปชั่วขณะก็ไม่อาจทราบได้แต่สุดท้ายก็ผิดไปแล้ว





















Jumper& Dip Switch อุปกรณ์น่าสะพรึงกลัว
=700) window.open('http://isanthai.com/html/jumper_html_3088b1bc.jpg');" onload="if(this.offsetWidth>'700')this.width='700';if(this.offsetHeight>'700')this.height='700';" border="0">=700) window.open('http://isanthai.com/html/jumper_html_m48cbd987.jpg');" onload="if(this.offsetWidth>'700')this.width='700';if(this.offsetHeight>'700')this.height='700';" border="0">














ผมเชื่อได้เลยว่าเพื่อนๆ หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Jumper,Dip Switch มาบ้างแล้วแต่อาจจะยังไม่เข้าใจว่า เซ็ตอย่างไร หรืออาจจะไม่กล้าไปยุ่งกับมันอันที่จริงสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว เลย และจำเป็นมาก ๆที่เราจะต้องรู้ไว้บ้าง พวก Jumper,Dip Switch ต่างๆ เหล่านี้จริง ๆ มีหน้าที่สำหรับกำหนดการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ทำหน้าที่ต่างกันออก ไปจะเห็นตัวอย่างหน้าที่ชัดเจนก็บนเมนบอร์ดรุ่นหนึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าจะ ให้มี FSB(Font Side Bus) ความ เร็วเท่าไร66,100,133MHz จะให้ตัว คูณ(Multiple)ของCPUเท่าไร?เพื่อให้เมนบอร์ดรุ่นนั้น ๆ สามารถรองรับการทำงานของ CPUได้มากที่สุดแล้วก็เป็นหน้าที่ของช่าง หรือเราเองที่จะต้องมานั่งเซ็ตให้ตรงกันนี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้นในวันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องที่เกี่ยวกับพวก Jumperต่างๆ ที่อยู่บน เมนบอร์ด,Hard Drive , CD-ROM Drive กันว่าสามารถเซ็ตอะไรได้บ้าง
Jumperบนเมนบอร์ด
เมน บอร์ดถือว่าเป็นส่วนที่มีJumperให้เซ็ตติดตั้งอยู่มากพอสมควรเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ พยายามจะลดความยุ่งยากในส่วนนี้จึงพยายามทำเทคโนโลยีที่เรียกว่า "JumperLess" คือมีJumperให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย แล้วย้ายการเซ็ตค่าต่าง ๆ ไปเป็นส่วน SoftwareหรือบนBiosที่เรียกว่า"SoftMenu" เพื่อให้ผู้ใช้งานยังคงสามารถ ปรับแต่งค่าต่างๆ ได้ จากเดิมที่รูปร่างหน้าตาของ Jumperเป็นขาทองแดงแล้วใช้พลาสติก เล็กๆ ซึ่งข้างในมีแผ่นโลหะเป็นตัวเชื่อม เมนบอร์ดบางรุ่นก็เปลี่ยนมาเป็นDipSwitch ที่ปรับแต่งได้ง่ายกว่าสะดวก กว่า และดูไม่น่ากลัวแทน วิธีการเซ็ต Jumperส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมขาทองแดงเข้าด้วยกัน ซึ่งต้องอาศัยตัวเชื่อมที่เป็นลักษณะพลาสติกตัวเล็ก ๆที่ข้างในจะเป็นทองแดง เป็นสื่อให้ขาทองแดงทั้งสองเชื่อมถึงกันและพลาสติกรอบข้างทำหน้าที่เป็น ชนวนป้องกันไม่ให้ทองแดงไปโดนขาอื่น ๆ


ส่วนวิธีการเซ็ตDipSwitch ก็ง่ายๆ ให้เรานึกถึง Switchไฟธรรมดาที่มีการปิดและเปิดซึ่ง จริง ๆ แล้วทั้ง JumperและDipSwitch นั้นต่างมีจุดมุ่งหมายเหมือนกันตรงที่ทำงานเปรียบเสมือนSwitchธรรมดามีสภาวะเปิดและปิด (Openand Close) เพื่อให้การเชื่อมและตัดวงจร นั้นเป็นตัวบอกให้เมนบอร์ดรู้ว่าเราต้องการให้ทำงานอย่างไร

=700) window.open('http://isanthai.com/html/jumper_html_m3a7de77.jpg');" onload="if(this.offsetWidth>'700')this.width='700';if(this.offsetHeight>'700')this.height='700';" border="0">














ตัวอย่างDipSwitch บนเมนบอร์ด
อัน ที่จริงแล้วเวลาเราจะเช็ทJumperหรือDipSwitch เราจำเป็นต้องอ่านคู่มือเมนบอร์ดให้ดีๆ ก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่าเรากำลังจะเซ็ตอะไร เซ็ตตรงไหน อย่างไรและได้ค่าอะไรนะครับ ภาพด้านข้างนี้เ=700) window.open('http://isanthai.com/html/jumper_html_63701846.jpg');" onload="if(this.offsetWidth>'700')this.width='700';if(this.offsetHeight>'700')this.height='700';" border="0">ป็นตัวอย่างLayoutของเมนบอร์ดของSoltekSL-75JV บนเมนบอร์ดที่สำคัญๆ หลัก ๆ ที่เราต้องเซ็ตก็คือเรื่องของ FSB(Font Side Bus) และMultipleของCPUเพื่อให้เมนบอร์ดทำงานสอดคล้อง กับCPUที่เรานำมาติดตั้งจากตัวอย่าง ทั้งสองส่วนนี้เป็นการเซ็ตแบบ DIPSwitch ซึ่งSW1เป็นการเซ็ตFSB(Font Side Bus) และSW2เป็นการเซ็ตMultiple(ตัวคูณ)ตามคู่มือเมนบอร์ดเป็นดังตาราง ที่1และ2เมนบอร์ดที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้ รองรับการทำงานCPUตระกูลAMDเพราะฉะนั้นหากผมต้องการนำเอาCPUAthlon Thunderbird ความเร็ว850MHz มาติดตั้งบนเมนบอร์ดรุ่นนี้ผม ต้องเซ็ตSW1CPU Clock = 100 MHz ซึ่งต้องปรับDIP1-5 บนSW1เป็นOffOn Off Off On ตามลำดับส่วน SW2ต้องเลือกMultiple8.5x เพราะฉะนั้นต้องเซ็ตDIP1-4 บนSW2เป็นOffOff On Off



มีการเซ็ตJumperหนึ่งที่เราน่าจะรู้ไว้ว่าอยู่ตรงส่วนไหนของเมนบอร์ด คือ การ ClearCMOS Data เอาไว้เวลาที่เราUpdateCMOS Version ใหม่ๆ หรือ
ว่า หากเกิดปัญหาจากการที่เราเข้าไปSetค่าต่างๆ ใน BIOSแล้วทำให้BOOTไม่ได้เราจะได้ใช้ JumperClear CMOS DATA ทำการClearค่าต่างๆ ใน BIOSให้กลับไปอยู่ในสภาวะเริ่มต้น เหมือนค่าที่ถูกเซ็ตจากโรงงานนะครับสำหรับเมนบอร์ดรุ่นนี้ตัว Jumperนี้จะอยู่ที่JBAT1ดังรูป
สภาวะ ปกติตัวJumperจะเชื่อมอยู่ที่ขา1-2หากเราต้องการClearCMOS Data เราต้องย้ายJumperมาที่2-3แต่อย่าลืมนะครับว่าต้องทำการ ย้ายJumperขณะปิดเครื่องและตามคู่มือ บอกว่าแค่เราย้ายมาก็จะ ClearCMOS แล้วไม่ต้องเปิดเครื่องจากนั้นทำการย้ายกลับไปยัง 1-2แล้วทำงานตามปกติ
=700) window.open('http://isanthai.com/html/jumper_html_mf868dd4.jpg');" onload="if(this.offsetWidth>'700')this.width='700';if(this.offsetHeight>'700')this.height='700';" border="0">
JumperบนHardDrive และCD-RomD=700) window.open('http://isanthai.com/html/jumper_html_6eb08660.jpg');" onload="if(this.offsetWidth>'700')this.width='700';if(this.offsetHeight>'700')this.height='700';" border="0">rive
=700) window.open('http://isanthai.com/html/jumper_html_35e929e6.jpg');" onload="if(this.offsetWidth>'700')this.width='700';if(this.offsetHeight>'700')this.height='700';" border="0">











หน้าที่หลักๆ ของ JumperในHarddrive และCD-RomDrive ก็คือการเซ็ตว่าDriveนั้นเป็นMasterหรือSlaveหลายๆ คนอาจจะเริ่มงงว่าอะไร MasterอะไรSlaveจะขออธิบายคร่าวๆ ดังนี้นะครับว่าปัจจุบัน DriveจำพวกHardDrive และCD-RomDrive นั้นจะมีมาตรฐานการต่อแบบIDEซึ่งบนเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะมีช่องต่อIDEสองช่องซึ่งเรียกว่าPrimaryและSecondaryแต่ละช่องก็จะต่อDriveได้2Drive นั้นหมายความว่าเครื่องโดยทั่ว ไปจะสามารถใส่Harddrive และCD-RomDrive รวมกัน4ตัว เนื่องจาก 1ช่องIDEสามารถต่ออุปกรณ์ได้2ตัวนี้แหละครับที่ทำให้เราต้อง มานั่งเซ็ตว่าจะให้ตัวไหนเป็นMasterตัวไหนเป็นSlaveแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็กำหนดต่างกันออกไปแต่อย่างไรก็ตามเราก็ยัง สามารถ ใช้พื้นฐานความรู้ในการเซ็ตเดียวกันได้สำหรับฮาร์ดดิสก์และไดรฟ์ CD-Romนั้นผู้ผลิตมักจะระบุการเซ็ตค่า มาให้ บนตัวมันเอง ใกล้ ๆกับจุดที่เซ็ตอยู่แล้ว และการดูก็ไม่ยากเท่าไหร่ เพียงแต่ท่านต้องเข้าใจคำว่า MasterกับSlaveเท่านั้นส่วนค่าอื่น ๆ ที่เห็น เช่น CableSelect นั้นจะเป็นการใช้งานแบบพิเศษ กับ สายเคเบิ้ล จะเกิดอะไรหากเราเซ็ตไม่ถูกต้องหรือเซ็ตอุปกรณ์ 2ตัวมาชนกันเองคำตอบคืออุปกรณ์ ไม่ถึงกับเสียหายหรอกครับแค่เครื่องของเราก็จะมองไม่เห็นว่า เราได้ติดตั้งตัว Driveนั้นไปแล้วเท่านั้นเองพอเราเซ็ตใหม่ให้ถูกต้องทุกอย่างก็จะ กลับมาเป็นเหมือนเดิมครับไม่ต้องกลัวกับการเซ็ต Jumperพวกนี้นะครับ
สรุป
เรื่อง ราวของJumperที่จริงก็คือส่วนที่ช่วยให้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานได้หลากหลายหน้าที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ในเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะ เป็นการเซ็ตว่าขณะนี้ต้องการนำเอา CPUอะไรมาติดตั้งจะให้ Disable/Enableความสามารถต่างๆ ในเมนบอร์ดไม่ว่าจะเป็น SoundOn Board, Vga On Board หรือจะเป็นการClearCMOS Data ส่วนในDriveชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Harddrive , CD-ROM Drive จะเป็นการกำหนดบทบาทหน้าที่ ส่วนในอุปกรณ์อื่น ๆ นั้น เราอาจจะเห็นการเซ็ต Jumperได้ในCardInterface บางประเภท
ทั้ง นี้ทั้งนั้นการเซ็ตค่าต่างๆ ต้องอาศัยคู่มือประกอบ เพราะว่าแต่ละอุปกรณ์แต่ละโรงงานก็จะออกแบบมาไม่เหมือนกันเซ็ตผิดพลาดก็อาจ จะทำให้อุปกรณ์นั้นใช้งานไม่ได้แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าไม่น่าจะทำให้ถึงกับ เสียหายอะไรเพราะทางโรงงานผู้ผลิตต้องเผื่อเหตุการณ์นี้ไว้อยู่แล้วขอให้ เซ็ตให้ถูกต้องอุปกรณ์ก็น่าจะใช้งานได้ ดังนั้นไม่ต้องกลัวนะครับของอย่างนี้ ถ้าเราอ่านคู่มือเข้าใจดีแล้วก็ลุยเลยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น